รัชกาลที่ 9
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ครองราชย์ 9 มิถุนายน พ.ศ.
2489 - 13 ตุลาคม พ.ศ.
2559
840 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
พ.ศ.
2489
2489 รัชกาลที่ 9 เสด็จขึ้นครองราชย์
9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช-มหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จขึ้นครองราชย์
2489 - 1 สถานพยาบาลของรัฐในหัวเมืองต่างจังหวัด (1)
วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2489 กระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือถึงคณะกรมการจังหวัดทุกจังหวัด เรื่องการจัดตั้งโรงพยาบาลและสุขศาลา ระบุสถานพยาบาลภาครัฐในปี พ.ศ. 2489 มี3 ประเภท ดังนี้
1. โรงพยาบาลประจำจังหวัด
2. สุขศาลาประจำอำเภอและกิ่งอำเภอ
3. โรงพยาบาลและสุขศาลาของเทศบาล
2489 - 2 การจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ พ.ศ. 2489
(2)
วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2489 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือด่วนมากถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี อธิบายที่มาข้อจำกัดของการฝึกอบรมนักศึกษาแพทย์ของโรงพยาบาลศิริราชว่า มีที่พอสำหรับนักเรียนแพทย์ 60 - 100 คนเท่านั้น แต่ปัจจุบันรับไว้ถึง 200 คน ทางราชการต้องการแพทย์จำนวนมาก และประชาชนนิยมการศึกษาแพทย์มาก จึงเห็นว่าสถานศึกษาแพทยศาสตร์เท่าที่มีอยู่เพียงแห่งเดียวในประเทศไม่เพียงพอ สมควรต้องเร่งรัดจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นอีกแห่งหนึ่งก่อน โดยให้สามารถรับนักศึกษาได้ทำการฝึกฝนอบรมอีก 100 คน ในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้คำนึงแล้วเห็นว่า ถ้าจะสร้างโรงเรียนแพทย์ขึ้นใหม่จะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายอย่างมากมาย จึงเห็นควรดำเนินการจัดสร้างเพิ่มเติมเฉพาะสถานศึกษาแพทยศาสตร์เบื้องต้น (Pre-Clinic) สถานที่ที่จะให้นักศึกษาภาคปลาย (Clinic) ฝึกฝนหาความชำนาญก่อนออกเป็นนั้น ควรร่วมมือกับองค์กรสถานที่รักษาพยาบาลที่มีการปฏิบัติการรักษาอันทันสมัย เช่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นต้น จึงเรียนมาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการ เพื่อดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ดังกล่าวขึ้นต่อไป
วันที่ 17
กันยายน พ.ศ. 2489
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งกระทรวงสาธารณสุขว่า
คณะรัฐมนตรีพิจารณารับหลักการและให้กระทรวงสาธารณสุขติดต่อกับกระทรวงการคลังพิจารณาเรื่องการเงินต่อไป
841 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
พ.ศ. 2490
2490 - 1 การโอนโรงพยาบาลระหว่างเทศบาลกับกระทรวงสาธารณสุข (3)
วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2490 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขอโอนโรงพยาบาลซึ่งอยู่ในความควบคุมของเทศบาลทุกแห่งมาอยู่ในความควบคุมดูแลของกระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือถึง เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้เหตุผลว่าโรงพยาบาลต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของเทศบาล ทั้งในกรุงเทพฯ และหัวเมืองได้ชำรุดทรุดโทรมและเสื่อมสภาพลงโดยทั่วไป
วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งรัฐมนตรีว่า ควรดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย พร้อมแนบร่างพระราชบัญญัติโอนสิทธิกิจการโรงพยาบาลและสุขศาลาต่าง ๆ ของเทศบาลให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำ พ.ศ. 2491 และให้ยกสุขศาลาขึ้นเป็นโรงพยาบาล ดังนี้
1. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองสงขลา
2. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครราชสีมา
3. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองพระนครศรีอยุธยา
4. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครสวรรค์
5. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองภูเก็ต
6. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา
7. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองราชบุรี
8. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองลำปาง
9. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองนครปฐม
10. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี
11. โรงพยาบาลเทศบาลเมืองเชียงใหม่
12. โรงพยาบาลเทศบาลเมือง (โรคติดต่อ ธนบุรี) ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
13. โรงพยาบาลชาติสงเคราะห์ของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
14. โรงพยาบาลกลางของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
15. โรงพยาบาลวชิระของเทศบาลนครกรุงเทพฯ
16. สุขศาลาเมืองกาฬสินธุ์
17. สุขศาลาเมืองชัยภูมิ
18. สุขศาลาเมืองอุทัยธานี
19. สุขศาลาเมืองลำพูน
20. สุขศาลาเมืองแม่ฮ่องสอน
21. สุขศาลาเมืองสมุทรปราการ
842 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2493 เลขาธิการคณะรัฐมนตรีแจ้งกระทรวงที่เกี่ยวข้องว่า คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้ถอน (ร่าง) พระราชบัญญัติว่าด้วยการโอนโรงพยาบาลและสุขศาลาของเทศบาล พ.ศ. 24... และให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการคลังต่อไป
วันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2493 กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เรื่องข้อตกลงการโอนโรงพยาบาลและสุขศาลาของเทศบาลกับกระทรวงสาธารณสุขที่ได้ประชุมตกลงกันแล้ว
พ.ศ.
2491
2491 - 1 ตั้งโรงพยาบาลทหารบกที่วังพญาไท (4)
วันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2491 พลโท หลวงชาตินักรบมีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อขอขยายพื้นที่วังพญาไท ทิศเหนือถนนราชวิถี ทิศตะวันตกจดถนนพระราม 6 ทิศตะวันออกจดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คือโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าในปัจจุบัน
พ.ศ.
2492
2492 - 1 ตั้งโรงพยาบาลสงฆ์ (5)
วันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2492 รายงานการประชุมกรรมการพิจารณาก่อสร้างโรงพยาบาลสำหรับสงฆ์ ครั้งที่ 1 ได้ข้อสรุปว่า ไม่ใช้เงินงบประมาณ แต่ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โรงงานยาสูบบริษัทข้าวไทย อ.จ.ศ. องค์การน้ำตาลไทย และองค์การ ร.ส.พ. โดยใช้ที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
2492 - 2 ตั้งโรงพยาบาลคลอดบุตร(6) (โรงพยาบาลราชวิถี)
วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2492 รายงานการประชุมกรรมการพิจารณาสร้างโรงพยาบาลคลอดบุตร ครั้งที่ 5 สรุปว่า ให้โรงพยาบาลหันหน้าเข้าหาอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยใช้งบประมาณเบื้องต้น 3 ล้านบาท และย้ายคณะสัตวแพทยศาสตร์ออกไป
2492 - 3 ประเทศไทยเข้าร่วม “อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4”
และตรา “พระราชบัญญัติบังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวา
เกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก”(7) ตามผลผูกพันของอนุสัญญาฉบับนี้
วันที่ 12
สิงหาคม พ.ศ. 2492
ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐภาคีในอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก (ฉบับที่
4) โดยได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร
843 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2498 มีพระบรมราชโองการประกาศพระราชบัญญัติบังคับให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก ลงวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 - 2498
หมายเหตุ
อนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 4 เป็นอนุสัญญาเจนีวาฉบับสุดท้าย (รวมการปรับปรุงอนุสัญญาเจนีวา ฉบับที่ 1 - 3) เป็นเหตุให้อนุสัญญาเจนีวา ฉบับ 1 - 3 หมดอายุทุกฉบับ
พ.ศ.
2493
2493 - 1 ระเบียบการใช้ตัวสะกดภาษาไทยแบบมาตรฐาน
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (8)
พ.ศ. 2493 พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 (ใช้เวลาปรับปรุงตั้งแต่ พ.ศ. 2475 - 2493 พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2493 ตีพิมพ์ทั้งหมด 20 ครั้ง จำนวนทั้งสิ้น 187,000เล่ม จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน ไม่ให้ลักลั่น
วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด บรรดาหนังสือราชการและการศึกษาเล่าเรียนในโรงเรียนให้ใช้ตัวสะกดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานเสมอไป
การสะกดอักขระภาษาไทยจึงเริ่มเป็นมาตรฐานตั้งแต่ พ.ศ. 2493 เป็นต้นไป ก่อนหน้านี้การสะกดอักขระจะยึดไปตามการอ่านออกเสียงเป็นหลัก ไม่ได้มีรูปแบบการสะกดคำเดิมที่มีตัวสะกดคงที่แบบเดิม
พ.ศ.
2495
2495 - 1 ตั้งกองจดหมายเหตุแห่งชาติ (9)
วันที่ 26
สิงหาคม พ.ศ. 2495 ออกประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมศิลปากรในกระทรวงวัฒนธรรม
แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร มี “กองจดหมายเหตุแห่งชาติ” แบ่งเป็น 2 แผนก คือ แผนกบันทึกเหตุการณ์และแผนกเอกสารสำคัญ
ที่ทำการแรกคือ ตึกถาวรวัตถุ ถนนหน้าพระธาตุ ริมสนามหลวง ต่อมา พ.ศ. 2519 ได้ย้ายมาในบริเวณหอสมุดแห่งชาติ
ท่าวาสุกรีสำหรับการให้บริการสืบค้นเอกสารสำคัญของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาตินั้น
พบว่าบัญชีสืบค้นเอกสารต่าง ๆ ระบุปีที่จัดทำบัญชีสืบค้นไว้ช่วงระหว่าง พ.ศ. 2519 - 2530
844 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
2495 - 2 โอนเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยเป็นข้าราชการกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (10)
วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2495 พระยาบริรักษเวชชการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข มีหนังสือด่วนมากเสนอคณะรัฐมนตรี โดยอ้างถึง “คณะกรรมการคลัง” เมื่อปี พ.ศ. 2494 ได้ให้คำแนะนำแก่กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ว่า
...สมควรจะดำเนินการ โอนเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาแพทย์มาเป็นข้าราชการ ทำหน้าที่อาจารย์ในคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยตั้งงบประมาณเงินเดือนรับไว้ทางกรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์...
โดยเรื่องนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ทำความตกลงกับสภากาชาดไทยเรียบร้อยแล้ว จึงขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2495 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ และ ก.พ.เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เห็นสมควรให้ตัดเงินเดือนและเงินเพิ่มสำหรับเจ้าหน้าที่เหล่านี้ซึ่งจ่ายจากเงินอุดหนุนทางสภากาชาดไทยเสีย พร้อมประกาศรายชื่ออาจารย์ที่จะโอนจากสภากาชาดไทยมาสังกัดคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 36 ท่าน เช่น หลวงประกิตเวชศักดิ์ หลวงประจักษ์เวชสิทธิ์ นายกอบชัย พรหมินทะโรจน์ นายจตุรพร หงส์ประภาส นายชุบ โชติกเสถียร นายพงษ์ ตันสถิต นายเฉลี่ย วัชรพุกก์ หลวงพรหมทัตตเวที หม่อมหลวงเกษตร สนิทวงศ์ น.ส.ตะวัน สุรวงศ์ บุนนาค นายประการ พิศาลบุตร เป็นต้น
พ.ศ.
2496
2496 - 1 ขออนุมัติจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ที่จังหวัดเชียงใหม่
และเสนอหลักการตั้งโรงเรียนแพทย์ตามภาคต่าง ๆ(11)
วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2496 รัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุขมีหนังสือเรียนเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ความว่า
...ในเวลานี้มีโรงเรียนแพทย์อยู่เพียง 2 โรงเรียน คือ ที่คณะแพทย-ศาสตร์และศิริราชพยาบาล 1 แห่ง กับที่คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
อีก 1 แห่ง ทั้งสองแห่งผลิตแพทย์ได้ปีละ 200 คน
คงจะต้องกินเวลาอีกหลายสิบปีที่จะผลิตแพทย์ออกมาให้เพียงพอกับความต้องการประเทศ...จำเป็นต้องจัดตั้งโรงเรียนแพทย์เพิ่มเติมขึ้นให้เพียงพอ
สำหรับประเทศไทยควรมีโรงเรียนแพทย์ทั้งหมดอย่างน้อย 5 โรงเรียน คือ 2
โรงเรียนในส่วนกลาง 1 โรงเรียนที่ภาคเหนือ 1 โรงเรียนที่ภาคใต้ และ
845 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
อีก 1 โรงเรียนที่ภาคอีสาน...อย่างน้อยควรจะต้องมีเวลาดำเนินประมาณ 5 ปีจึงจะแล้วเสร็จเป็นโรงเรียนแพทย์ที่สมบูรณ์ มีมาตรฐานที่ดีได้ แต่การจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ตามภาคต่าง ๆ ขึ้นพร้อมกันทีเดียวทั้ง 3 ภาคนั้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยาก...ในชั้นแรกนี้ ควรจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นแต่แห่งเดียวก่อน เมื่อสำเร็จแล้วจึงจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งอื่น ๆ ตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นก่อนหลังต่อไป และได้เห็นว่าภาคที่สมควรจะจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้นก่อนในเวลานี้ ควรเป็นภาคเหนือ ที่จังหวัดเชียงใหม่ เพราะจังหวัดนี้มีจำนวนประชากรถึง 535,664 คน ประกอบกับได้มีโรงพยาบาลหลายแห่ง...
พ.ศ.
2498
2498 - 1 รัฐบาลไทยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาเจนีวาทั้ง 4 ฉบับ(12)
วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2498 มีพระบรมราชโองการประกาศใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ประสบภัยสงคราม โดยผู้แทนฝ่ายไทยได้ร่วมลงนาม ณ นครเจนีวาเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2492
...ด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร รัฐบาลของพระบาท-สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตกลงเข้าเป็นภาคีในอนุสัญญเจนีวาทั้ง
4 ฉบับนี้ และได้แจ้งการภาคยานุวัติไปยังรัฐบาลสหพันธ์สวิสผู้รักษาอนุสัญญาทั้ง 4
ฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พุทธศักราช 2497 แล้ว และ
โดยที่ตามความในมาตรา 61
แห่งอนุสัญญาฉบับที่ 1 มาตรา 60 แห่งอนุสัญญาฉบับที่ 2 มาตรา 140
แห่งอนุสัญญาฉบับที่ 3 และมาตรา 156แห่งอนุสัญญาฉบับที่ 4
ให้เริ่มใช้อนุสัญญาแก่ประเทศที่แจ้งการภาคยานุวัติ 6 เดือน
ภายหลังวันแจ้งแก่รัฐบาลสหพันธ์สวิส
ฉะนั้น
อนุสัญญาเจนีวาทั้ง 4 ฉบับ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ประสพภัยสงครามดังกล่าวนี้พร้อมด้วยภาคผนวก
จึงมีผลบังคับใช้ระหว่างประเทศไทยกับประเทศทั้งหลายที่เป็นภาคี ตั้งแต่วันที่ 29
มิถุนายน พุทธศักราช 2498 เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่
25 กรกฎาคม พุทธศักราช 2498 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
นายกรัฐมนตรี
846 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
อนุสัญญเจนีวาทั้ง 4 ฉบับ มีรายชื่อดังนี้
1. Geneva Convention (I) on Wounded and Sick in Armed Forces in the Field, 1949 อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้บาดเจ็บและป่วยไข้ในกองทัพในสนามรบมีสภาวะดีขึ้น
2. Convention (II) for the Amelioration of the Condition of Wounded, Sick and Shipwrecked Members of Armed Forces at Sea. Geneva, 12 August 1949 อนุสัญญาเจนีวาเพื่อให้ผู้สังกัดในกองทัพขณะอยู่ในทะเลซึ่งบาดเจ็บ ป่วยไข้ และเรืออัปปางมีสภาวะดีขึ้น
3. Convention (III) relative to the Treatment of Prisoners of War. Geneva, 12 August 1949 อนุสัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก
4. Convention (IV) relative to the Protection of Civilian Persons in Time of War. Geneva, 12 August 1949 อนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการคุ้มครองบุคคลพลเรือนในเวลาสงคราม
พ.ศ.
2499
2499 - 1 โครงการของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์(13)
วันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2499 กรมมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขอเสนอโครงการของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ที่สมควรปรับปรุง พร้อมด้วยงบประมาณตามคำสั่งท่านนายกรัฐมนตรี ได้แก่ การก่อสร้าง หอพักนักศึกษาแพทย์ชาย หอพักนักศึกษาแพทย์หญิง โรงรับประทานอาหารและสโมสรนักศึกษา ถนนสำหรับเชื่อมหอพัก ปรับพื้นที่สนามและถมที่ลุ่ม หอพักแพทย์ประจำบ้านชาย / หญิง ตึกสรีรวิทยา
2499 - 2 พระบรมราชโองการประกาศตั้งสภานายิกา สภากาชาดไทย(14)
วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2499 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตั้งแต่สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ผู้ทรงดำรงตำแหน่งแห่งสภานายิกา สภากาชาดไทยเสด็จสวรรคตไปแล้ว ตำแหน่งสภานายิกา สภากาชาดไทยยังว่างอยู่ คณะรัฐมนตรีได้ทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นชอบขอให้ทรงตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม-ราชินี ให้ทรงดำรงตำแหน่งสภานายิกา สภากาชาดไทย
พ.ศ.
2505
2505 - 1 โครงการก่อสร้างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่(15)
วันที่ 12
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 นายกรัฐมนตรีอนุมัติให้หลวงอรรถไกวัลวที
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างคณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลนครเชียงใหม่
(Medical Education) ตามสัญญาข้อตกลง (Project Agreement) ระหว่างสหรัฐอเมริกา กับรัฐบาลไทย โดยรัฐบาลไทยจะต้องออกเงินครึ่งหนึ่ง
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจะจ่ายจากเงินทุนสมทบจากสหรัฐอเมริกา (Counterpart Fund) เดิมนายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง เป็นผู้อำนวยการคนแรก
ต่อมาเปลี่ยนเป็นนายแพทย์จำลอง หะริณสุต โดยมีนายแพทย์บุญสม
847 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
มาร์ติน เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการ ต่อมาทั้งสามท่านได้เป็นผู้ช่วยฯ หลวงอรรถไกวัลวที ผู้อำนวยการโครงการท่านสุดท้าย
2505 - 2 โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลขอนแก่น(16)
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2504 ถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 ศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง และอาจารย์เอก สวัสดิ์ สกุลไทย เดินทางไปดูงานการศึกษาแพทย์หลังปริญญา ตลอดจนวิธีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและการดำเนินงานในต่างประเทศ ตามแผนการโคลัมโบเป็นเวลา 4 เดือนครึ่ง ได้เสนอความเห็นว่า ในระยะนี้ควรจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยฝ่ายแพทยศาสตร์ขึ้นก่อน เพื่อจะได้ดำเนินการผลิตอาจารย์สำหรับโรงเรียนแพทย์หรือคณะแพทยศาสตร์ที่จังหวัดขอนแก่นตามโครงการที่จะจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2509 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2505 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1)เพื่อผลิตแพทย์ปริญญาเพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 50 คน
2)เพื่อผลิตพยาบาลเพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 50 คน
3)ก่อสร้างเพิ่มเติมและดัดแปลงให้โรงพยาบาลขอนแก่นเป็นโรงพยาบาลที่ทันสมัยเพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาแพทยศาสตร์และพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย และบริการประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ดีและมากยิ่งขึ้น โดยจะเพิ่มอุปกรณ์เครื่องมือและสิ่งอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการศึกษาและการใช้ นอกจากนั้นจะเพิ่มเตียงอีกประมาณ 50 เตียง
พ.ศ.
2508
2508 - 1 โครงการสร้างโรงพยาบาลคณะแพทย์ใหม่
ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ในที่ดินของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน(17)
(คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี)
วันที่ 19 มกราคม
พ.ศ. 2508
คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการโครงการสร้างโรงพยาบาลคณะแพทย์ใหม่ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ในที่ดินของมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
ตรงข้ามกรมทางหลวงแผ่นดิน ดังนั้นมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์จึงเห็นสมควรออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาล.........ขึ้นอีกคณะหนึ่ง โดยมีหลักการและเหตุผลคือ “เพื่อผลิตแพทย์
อาจารย์สำหรับคณะแพทยศาสตร์ส่วนภูมิภาค พยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย
และพนักงานวิทยาศาสตร์ ตลอดจนบริการประชาชนผู้ป่วยไข้”
848 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
2508 - 2 ตั้งองค์การเภสัชกรรม(18)
วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ดำเนินการให้กองโอสถศาลารวมกับโรงงานเภสัชกรรมจัดตั้งเป็นองค์การเภสัชกรรม โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
พ.ศ.
2509
2509 - 1 โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย(19)
วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2509 หนังสือสำนักนายกรัฐมนตรีที่ สร. 0101/3778 วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 คณะรัฐมนตรีลงมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาเตรียมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ประธานกรรมการบริหาร สภาการศึกษาแห่งชาติรายงานว่า คณะกรรมการบริหารได้พิจารณาโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์-มหาวิทยาลัย ด้วยความร่วมมือของกระทรวงกลาโหม เพื่อผลิตแพทย์ให้แก่ประเทศและทางราชการทหารแล้ว เห็นควรแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ให้ชื่อว่า คณะกรรมการพิจารณาเตรียมการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ สร. 0403/ศ 503 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2509 ประกอบด้วย
1) หลวงพิณพากย์พิทยาเภท เป็นประธานกรรมการ
2) พลอากาศตรี เจือ ปุญโสนี เป็นกรรมการ
3) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
4) เลขาธิการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
5) เลขานุการฝ่ายวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการ
6) ผู้แทนมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ เป็นกรรมการ
7) ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข เป็นกรรมการ
8) ผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นกรรมการ
9) ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ เป็นกรรมการ
10) ผู้แทนสำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นกรรมการ
11) นายภุชงค์
เพ่งศรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
849 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
หมายเหตุ
เอกสารที่เก็บรักษาอยู่ ณ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติมีจนถึงราว พ.ศ. 2510 เพียงเท่านี้ หลังจากปีนี้แล้ว เอกสารจดหมายเหตุได้ย้ายไปเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
เนื่องจากเอกสารจดหมายเหตุและเอกสารราชการในสมัยรัชกาลที่
9 ด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีจำนวนมหาศาล แยกเก็บรักษาโดยส่วนราชการแต่ละหน่วยงาน
บางหน่วยงานจัดตั้งหอจดหมายเหตุของตนเอง
บางหน่วยงานไม่ได้นำส่งเอกสารราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยงานสารบรรณที่ระบุว่าเอกสารที่มีอายุครบ 25 ปีนับจากวันที่ได้จัดทำขึ้น
ต้องส่งมอบให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร หลักฐานต่าง ๆ
จึงกระจัดกระจายอยู่ตามแหล่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้ว
และควรที่จะรวบรวมเหตุการณ์เกี่ยวกับการแพทย์และการสาธารณสุขของไทยที่เกิดขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพล-อดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ไว้สำหรับเป็นฐานข้อมูลสำคัญของแผ่นดินในโอกาสต่อไป
850 ประวัติศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขไทย
เชิงอรรถ
1 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/211 เรื่องโครงการสร้างโรงพยาบาลหัวเมืองของกระทรวงมหาดไทย, หน้า 41 - 42
2 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/208, หน้า 11 - 12
3 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/212 เรื่องการโอนโรงพยาบาลระหว่างเทศบาลกับกระทรวงสาธารณสุข
4 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201.27.2/25 เรื่องโรงพยาบาลทหารบก พญาไท, หน้า 1 - 15
5 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201.27.2/25 เรื่องโรงพยาบาลทหารบก พญาไท, หน้า 18 - 19
6 เรื่องเดียวกัน
7 “พระราชบัญญัติบังคับการให้เป็นไปตามอนุสัญญาเจนีวาเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อเชลยศึก” ราชกิจจานุเบกษา 72 ตอนที่ 83 (18 ตุลาคม 2498), หน้า 1443 - 1451
8 “ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องระเบียบการใช้ตัวสะกด” ราชกิจจานุเบกษา 67 ตอนที่ 26 (5 พฤษภาคม 2493), หน้า 12 - 13
9 “พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบกรมศิลปากรในกระทรวงวัฒนธรรม” ราชกิจจานุเบกษา 69 ตอนที่ 52 (26 สิงหาคม 2495)
10 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 0201.6/71 เรื่องโอนเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทยเป็นข้าราชการ
11 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ม (2) สร 0201/208, หน้า 14 - 15
12 “ประกาศใช้อนุสัญญาระหว่างประเทศเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้ประสพภัยสงคราม” ราชกิจจานุเบกษา 72 ตอนที่ 57 ฉบับพิเศษ (4 สิงหาคม 2498), หน้า 1 - 433
13 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารมหาวิทยาลัยมหิดล กองกลาง ทม 2.1.3/6 เรื่องก่อสร้างตึกหอพักนิสิตแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
14 “ประกาศตั้งสภานายิกา สภากาชาดไทย” ราชกิจจานุเบกษา 73 ตอนที่ 66 (21 สิงหาคม 2499), หน้า 957
15 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 2.1.1.1/31 เรื่องโครงการก่อสร้างคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่
16 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 2.1/65 โครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลขอนแก่น
17 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 2.11/145 เรื่องโครงการสร้างโรงพยาบาลคณะแพทย์ใหม่ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์
18 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เอกสารกระทรวงสาธารณสุข สธ 1.3.1/1 เรื่องกองโอสถศาลารวมกับโรงงานเภสัชกรรม
19 สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
เอกสารสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สร 2.1.10/42 เรื่องโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย